จะว่าไปแล้วมนุษย์ในยุค 2020 ต้องเจอโจทย์ที่ท้าทายเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะต้องรักษาชีวิตให้รอดในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังต้องทำความคุ้นเคยกับ “วิถีชีวิตใหม่ หรือ new normal” ต่างๆ ที่จะเกิดแล้ว ยังต้องรักษาเก้าอี้ หรือตำแหน่งงานในออฟฟิศได้ไว้ให้เหนียวแน่น ในยุคที่ตำแหน่งงานน้อยลง บริษัทมีตัวเลือกที่มากขึ้น อีกทั้งเทคโนโลยีก็เข้ามามีบทบาทอย่างมากที่สุดในยุคปัจจุบัน เรียกได้ว่า เทคโนโลยีอาจกำลังมาเป็นตัวขับเคลื่อนใหม่เลยก็ว่าได้
(อ้างอิงข้อมูลจาก “หนังสือ ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เมื่อหุ่นยนต์ครองโลก” การศึกษาคือทางรอดเดียวของมนุษย์ https://se-ed.com/s/c0C7) ระบุว่าจากการประชุมสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ในเดือนมกราคม ค.ศ.2016 ได้เปิดเผยถึง 10 ทักษะที่บุคลากรยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ควรมีดังต่อไปนี้
- ความสามารถแก้ปัญหาซับซ้อน(Complex Problem Solving) การแก้ปัญหาด้วยมุมมองและวิธีที่หลากหลายเพื่อจัดการปัญหาที่ซับซ้อนมากกว่าเดิม
- คิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ใช้เหตุผลวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยวิธีแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบ
- ความคิดสร้างสรรค์ (Creative) สร้างสรรค์ไอเดียแปลกใหม่ในการแก้ปัญหา เพิ่มทางเลือกมีทางออกในชีวิตมากขึ้น
- บริหารจัดการคน (People Management) บริหารคนให้ตรงกับงาน และเติมแรงจูงใจให้สร้างผลงานได้ดีที่สุด
- ความสามารถร่วมมือกับผู้อื่น (Coordinating with others) การจัดการพฤติกรรมของตัวเองให้ทำงานกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น
- ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) รับรู้ถึงพฤติกรรมของอีกฝ่ายได้อย่างรวดเร็ว และเข้าใจว่าทำไมเขาถึงทำอย่างนั้น
- ทักษะการประเมินและตัดสินใจ (Judgment and Decision Making) ประเมินและตัดสินใจในการทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยใช้วิธีที่ถูกต้องและเหมาะสม
- ทักษะมีใจรักการบริการ (Service Orientation) มีจิตอาสาและเสียสละ สามารถหาวิธีช่วยเหลือผู้อื่นอย่างกระตือรือร้น
- ทักษะการเจรจาต่อรอง (Negotiation) ช่วยลดช่องว่างทางความคิด ประสานผลประโยชน์ให้ Win-Win ได้ทั้งสองฝ่าย
- ทักษะความยืดหยุ่นทางความคิด (Cognitive Flexibility) ใช้หลักการหลากหลายเพื่อจัดลำดับและปรับวิธีการทำงานต่างๆ ด้วยความคิดที่สร้างสรรค์
และอีกสิ่งที่สำคัญที่ทุกคนควรมีในยุคนี้คือการเรียนรู้ใช้งานเทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อให้การดำเนินงานต่างๆ สามารถเป็นไปได้อย่างราบรื่น และควรตระหนักถึงการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง