ในงาน Huawei Analyst Summit 2020 (HAS 2020) ที่จัดขึ้นที่เซินเจิ้น ประเทศจีน ทางหัวเว่ยได้เผยกลยุทธ์ “Seamless AI Life” แสดงทิศทางของธุรกิจในอนาคต เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจและประสบการณ์ใช้งานรูปแบบใหม่

งานนี้จัดขึ้นโดย  Huawei Consumer Business Group (CBG) โดยเชิญนักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมมาเผยถึงเทรนด์, เทคโนโลยี/นวัตกรรมใหม่ และระบบนิเวศน์ต่างๆ โดยแนวคิดของงานในปีนี้คือ “Seamless AI Life” ซึ่งจะมุ่นเน้นเรื่องของการพัฒนา AI ให้ใช้งานได้แบบไร้รอยต่อ

“ยุคของ Internet of Everything นั้นจะเปิดตลาดใหม่มูลค่านับล้านล้านดอลลาร์ รวมถึงการมาของอุปกรณ์และบริการรูปแบบใหม่ๆ ทาง Huawei CBG เองก็มุ่งเน้นวิสัยทัศน์ของ Seamless AI Life ด้วยการปฏิวัติการใช้งานผ่านการเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์, เพิ่มความสามารถในการแชร์ข้อมูล และผสานคอนเทนท์/บริการระหว่าง 1+8+n devices” Shao Yang ผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์ของ Huawei CBG

Seamless AI Life

ทางหัวเว่ยเองได้เริ่มกลยุทธ์  “1+8+N” มาตั้งแต่ปีที่แล้ว 1 ก็คือ สมาร์ตโฟนที่จะเป็นศูนย์กลางของการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆรอบตัว ส่วน 8 ก็คือ อุปกรณ์อื่นๆที่เรามีการใช้งาน โดยหัวเว่ยแบ่งเป็น 8 ประเภทคือ คอมพิวเตอร์, แท็บเล็ต, นาฬิกาอัจฉริยะ, หูฟังไร้สาย, ลำโพงอัจฉริยะ, แว่นตาอัจฉริยะ, อุปกรณ์ที่มีจอภาพและรถยนต์ ส่วน N ก็คือ Endless หรือการใช้งาน/บริการใหม่ๆแบบไม่มีที่สิ้นสุด

กลยุทธ์ “Seamless AI Life” นั้น เครื่องหมาย “+” นั้นจะหมายถึงเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ WAN และ short-distance connection เพื่อเชื่อมต่อกับ device silos เปิดการทำงานของการแชร์ข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้ ทางหัวเว่ยนั้นลงทุนในเรื่องของ R&D ในเทคโนโลยีที่เป็นหัวใจอย่างต่อเนื่อง เช่น 5G, Huawei Share, distributed OS และ Huawei Assistant เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวให้แข็งแกร่ง รวมถึงเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนั้นยังมี Huawei Mobile Services ที่ช่วยเชื่อมต่อคอนเทนท์ข้ามอุปกรณ์ ที่จะมาเปลี่ยนการทำงาน,การอยู่บ้านและการท่องเที่ยวให้ต่างไปจากเดิม

ซอฟท์แวร์และ distributed OS คือกุญแจสำคัญ

หัวเว่ยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีที่มาปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เทรนด์ของผู้บริโภคในปัจจุบันมีแนวโน้นซื้ออุปกรณ์ต่างๆเพิ่มมากขึ้น แต่มีการสำรวจพบว่า อุปกรณ์หลายชิ้นเมื่อมาทำงานร่วมกันแล้วทำไม่ได้อย่างที่คาดหวังไว้

ทาง Wang Chenglu ประธานบริษัท Huawei CBG Software Engineering Department บอกแนวทางการพัฒนาซอฟท์แวร์ในอนาคตนั้น จะมุ่งเน้นรื่องของการเชื่อมต่อหลายๆอุปกรณ์เข้าด้วยกัน พร้อมขยายขีดความสามารถได้อย่างยืดหยุ่นโดยมีสมาร์ตโฟนเป็นศูนย์กลาง

นั่นส่งผลให้ระบบปฏิบัติการเอง จำเป็นต้องมีความต้องการใหม่ๆ เพื่อให้การสื่อสารข้ามอุปกรณ์นั้นจะมีประสิทธิภาพและลื่นไหลได้ รวมถึงการแชร์ทรัพยากรและความสามารถต่างๆจะต้องมีความปลอดภัย สุดท้ายระบบนิเวศน์เองก็ต้องเปิดกว้างและสนับสนุนการทำงานกับอุปกรณ์ที่ผลิตโดย third-party

Wang Chenglu ประธานบริษัท Huawei CBG Software Engineering Department

ด้วย distributed soft bus และ database จึงทำให้ Huawei สามารถปฏิวัติระบบปฏิบัติการได้ตั้งแต่ สถาปัตยกรรมชั้นที่เป็นชั้นล่างสุด จนไปถึงการโต้ตอบระหว่างอุปกรณ์ ช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆทำงานร่วมกันได้อย่างไหลลื่น เชื่อมต่อคน-อุปกรณ์-ข้อมูลเข้าด้วยกันผ่านเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยสูง ด้วยความสามารถของ distributed capability ทำให้เราสามารถแชร์ความสามารถของอุปกรณ์นั้นกับอุปกรณ์อื่นๆได้

ยกตัวอย่างเช่น ฟีเจอร์ multi-screen collaboration บน EMUI 10.1 นั้นจะช่วยให้เราใช้กล้อง/ไมโครโฟนบนคอมพิวเตอร์รับสายจากมือถือได้ มือถือจะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆผ่าน Multi-device Control Center ไม่ว่าจะเป็นการเรียกใช้งานอุปกรณ์ IoT หรือการส่งภาพบนหน้าจอนึงไปยังอีกหน้าจอนึง

Distributed capabilities เป็นความสามารถที่เปิดกว้าง จะสร้างโอกาสใหม่ๆให้กับอุตสาหกรรม ในส่วนของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์นั้น distributed capability จะช่วยให้แอปสั่งงานอุปกรณ์ต่างๆได้ง่ายขึ้น ทำให้อัตราการใช้งานบ่อยขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยให้นักพัฒนาลดต้นทุนและความยุ่งยากในการพัฒนา ทำแอปออกมาครั้งเดียวสามารถใช้งานได้ทุกอุปกรณ์ ช่วยสร้างประสบการณ์ seamless AI life ผ่านการทำงานร่วมกันของหลายอุปกรณืแบบไร้รอยต่อ

Huawei Mobile Services เติมเต็ม Seamless AI life

Huawei พยายามเปิดความสามารถ “Chipset-Device-Cloud” ให้กับเหล่านักพัฒนาผ่านเครื่องมือของ  HMS Core Kits เช่น Account Kit, In-App Purchase Kit, Machine Learning Kit, HiAI Kit และ Camera Kit โดยมีการร่วมมือกับนัพพัฒนาและพันธมิตรทั่วโลกในการสร้างระบบนิเวศน์ของ Huawei Mobile Services ecosystem เติมเต็มคอนเทนท์และบริการให้กับผู้ใช้ของหัวเว่ย เพื่อสร้างประสบการณ์ AI ไร้รอยต่อในยุค 5G

ทาง Eric Tan รองประธานของ Huawei CBG Consumer Cloud Service Department บอกว่า หัวเว่ยได้ส่งมอบแอปคุณภาพในระดับแถวหน้าของตลาด, ลดขั้นตอนและเวลาในการค้นหาและเลือกแอปที่ต้องการด้วยการใช้ AI มาช่วยแนะนำ รวมถึงเพิ่มจำนวนแอปสำหรับผู้ใช้ในประเทศนั้นๆให้มากขึ้น  ,

นอกจากนั้น หัวเว่ยยังเปิดตัว Quick App และ Ability ให้ใช้งานได้ทั่วโลกแล้ว ซึ่ง Quick Apps นั้นจะทำให้เราไม่จำเป็นต้องติดตั้งแอปในเครื่อง สามารถใช้งานเหมือนการลงแอปปกติ แถมยังทำงานได้อย่างฉลาดสามารถแนะนำแอปที่เราใช้บ่อยๆ ส่งผลให้การใช้งานบนทุกอุปกรณ์ได้ประสบการณ์ที่เหมือนกัน

ตอนนี้หัวเว่ยได้ทำการแจกเครื่องมือ Integrated development environment (IDE) ให้กับเหล่านักพัฒนา, สนับสนุน one-point access สำหรับ global distribution ไปยังทุกอุปกรณ์

ปัจจุบัน Huawei มีนักพัฒนาที่ลงทะเบียนแล้วมากกว่า 1.4 คนทั่วโลก ซึ่งคนกลุ่มนี้สามารถนำเครื่องมืออย่าง HMS Core kits อย่างเช่น  แผนที่, บริการวิเคราะห์ข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งตอนนี้มีแอปมากกว่า 60,000 แอปที่เชื่อมต่อการทำงานกับ HMS Core services แถมมีอัตราเติบโตปีต่อปีถึง 66.7% ในอนาคตทาง Huawei จะเปิดความสามารถของ Chipset-Device-Cloud capabilities ให้มากขึ้น รวมถึงร่วมมือกับพัฒนาที่มีความโดดเด่นและพันธมิตรทั่วโลกเพื่อสร้างระบบนิเวศน์ของ seamless AI life ให้สมบูรณ์