อีกในไม่ช้า เราจะสามารถรู้สุขภาพร่างกายหลังจากทำธุระในห้องน้ำได้ง่ายๆ ด้วยการใช้ AI มาวิเคราะห์สุขภาพจากของเสียที่ร่างกายปล่อยออกมา

OutSense สตาร์ทอัพจากอิสราเอล มีความตั้งใจที่จะช่วยรักษาชีวิตมนุษย์จากโรคร้ายแรง ด้วยการพัฒนา AI ช่วยตรวจวัดสุขภาพจากของเสียที่เราปล่อยออกมาจากร่างกาย ด้วยเทคโนโลยี computer vision จะเปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นข้อมูลอันมีค่า เรียกว่าผลงานเข้าตานักลงทุนจนได้รับเงินจาก  Peregrine Ventures เป็นจำนวน 2.2 ล้านดอลลาร์ ส่งผลให้เทคโนโลนีนี้ใกล้จะได้วางขายในเชิงพาณิชย์ รวมถึงตั้งเป้าเป็นฐานข้อมูลของเสียจากมนุษย์รายแรกและมีขนาดใหญ่ที่สุด

ตัวอุปกรณ์จะติดตั้งกับโถสุขภัณฑ์ คอยเก็บข้อมูล 3 มิติ ประกอบด้วยเวลาหรือเข้าห้องน้ำบ่อยแค่ไหน ถ่ายหนัก/ถ่ายเบา ระยะเวลาที่ใช้, space หรือขนาด/ปริมาณที่ปล่อยออกมา สุดท้ายคือสเปกตรัมคือพื้นผิวและความโปร่งใสด้วยการวิเคราะห์โมเลกุลในของเสียที่ตาเปล่ามองไม่เห็น

จากนั้นจะส่งต่ออัตโนมัติขึ้นไปยังระบบ cloud โดยระบบของ OutSense จะทำงานวิเคราะห์ข้อมูลแบบ real-time จากนั้นจะส่งข้อมูลเชิงลึกไปหาผู้ใช้หรือหน่วยงานทางสาธารณะสุขที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่พบความผิดปกติ ระบบจะทำการส่งการแจ้งเตือนให้รู้ทันทีเพื่อวิเคราะห์เชิงลึกหรือเข้าทำการรักษา

เรียกว่าเทคโนโลยีของเขาไม่ได้เจาะกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างเหมือนกับนาฬิกาอัจฉริยะทั่วไป แต่มุ่งเน้นที่ตัวผู้ใช้ที่มีอาการหรือความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายแรง รวมถึงดูแลผู้สูงอายุ โดยในช่วงแรกนั้นจะเน้นการสำรวจจากเลือดที่ปนในอุจารระซึ่งเป็นสัญญาณเรื่องของมะเร็งลำไส้โดยมีความแม่นยำ ตรวจจับได้ถูกต้องถึง 90% ซึ่งเขาเคลมว่าเป็นบริษัทแรกที่สามารถตรวจอุจาระในโถสุขภัณฑ์ได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องเก็บตัวอย่างส่งไปยังห้องทดลอง

นอกจากนั้นเทคโนโลยีของ OutSense ยังสามารถบ่งชี้เรื่องของ การขาดน้ำ, การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะและท้องเสีย เป็นต้น เมื่อทราบแล้วแต่ละคนก็จะดำเนินการวินิจฉัยเพิ่มเติมและรักษาต่อด้วยวิธีที่เหมาะสม

ช่วงทดสอบ ทางบริษัทได้สร้างฐานข้อมูลในช่วงทดสอบโดยร่วมมือกับโรงพยาบาลในท้องที่เพื่อทดสอบความสามารถของ computer vision และ AI ในการตรวจสอบเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ตอนนี้ทาง OutSense เตรียมจะทดสอบใช้งานในสเกลที่ใหญ่ขึ้นทั้งในและต่างประเทศ โดยในปี 2021 ตั้งเป้าที่จะยื่นขออนุมัติจาก FDA เพื่อให้ขายในเชิงพาณิชย์ได้

ที่มา. VentureBeat