หลายคนป่วยเป็นโรคหัวใจแต่ไม่รู้ตัวเพราะยังไม่แสดงอาการออกมา ทาง National Health Service ของอังกฤษ จึงพัฒนา AI มาช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงโรคหัวใจ ก่อนแสดงอาการออกมา

โดยทั่วไปเมื่อคนไข้รู้สึกเจ็บหน้าอกก็จะมารับการวินิจฉัยด้วยวิธีการถ่ายภาพรังสีสแกนหัวใจหรือ computer-assisted tomography (Cat) แต่ผลพบว่าผู้ป่วย 3ใน 4 รายกลับไม่พบเจออาการผิดปกติอะไร แต่เมื่อมีการติตามผลต่อเนื่องพบว่า 1 ใน 5 ของผู้ป่วยนั้นมีอาการโรคหัวใจภายในระยะเวลา 10 ปีหลังตรวจ

นั่นจึงทำให้เกิดการพัฒนา AI ที่มีชื่อว่า CaRi-Heart โดยการวิเคราะห์ฟิล์มสแกนเพื่อช่วยตรวจจับปัญหาเล็กๆที่เกิดขึ้นกับหัวใจที่การสแกนทั่วไปตรวจจับไม่เจอ  ทางนักวิจัย Oxford University บอกว่ามันสามารถระบุการอักเสบ รวมถึงบาดแผลของเส้นเลือดที่ส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจ

เมื่อเปรียบเทียบเทียบผลสแกนด้วย CaRi-Heart พบว่า การตรวจพบความเสี่ยงต่ำ ถูกจัดประเภทใหม่ให้เป็นความเสี่ยงสูงแทน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเริ่มดูแลรักษาตัวเองดีขึ้น ก่อนอาการจะลุกลามเกินแก้ไข

ข้อดีของเทคโนโลยีนี้คือ การใช้งานง่ายแต่สามารถช่วยชีวิตคนจำนวนมากได้ ซึ่งทางโรงพยาบาลไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ ใช้ร่วมกับของเดิมที่มีอยู่แล้วได้เลย ปัจจุบันมีการนำ AI นี้ไปใช้งานจริงแล้วใน 15 โรงพยาบาลทั่วประเทศอังกฤษ คาดการณ์ว่าเครื่องมือนี้น่าจะช่วยผู้ป่วยโรคหัวใจได้มากกว่าปีละ 350,000 คน

ที่มา BBC