หลายคนมีปัญหาด้านการพูดเนื่องจากอาการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทอย่าง หลอดเลือดสมอง, ALS, อาการบาดเจ็บที่สมอง (Traumatic Brain Injury) หรือพาร์กินสัน แม้เขาจะฟังเข้าใจแต่บางครั้งก็ไม่สามารถสื่อสารกับคนอื่นได้ นั่นจึงเป็นที่มาของ Project Relate ในรูปแบบของแอปพลิเคชันที่ช่วยให้คนกลุ่มนี้สื่อสารกับคนอื่นได้ดีขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีอย่าง voice recognition และ voice synthesis มาช่วย
Project Relate เป็นผลลัพธ์มาจากงานวิจัยทีม Speech and Research ของ Google ที่มีเข้าคนส่งตัวอย่างเสียงเข้ามาร่วมโครงการมากกว่าล้านเสียง ซึ่งตอนนี้กำลังขยายการใช้งานไปยังประเทศอื่น เช่น ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ในช่วงแรกของการทดสอบนั้น เขาจะให้คนที่เข้าร่วมบันทึกเสียงพูดของตัวเองเข้ามา จากนั้นแอปจะทำการเรียนรู้จากประโยคเหล่านี้ถึง รูปแบบของคลื่นเสียงที่แตกต่างไปของแต่ละคนที่มีปัญหาด้านการพูด ตัวแอปนั้นจะมี 3 ฟีเจอร์หลัก คือ Listen, Repeat และ Assistant.
Listen: แอปจะทำการถอดเสียงพูดได้แบบ Realtime จากนั้นจะแปลงเป็นข้อความที่สามารถคัดลองและวางในแอปอื่นๆ เช่น SMS หรือ Note เพื่อให้คนอื่นสามารถอ่านและเข้าใจสิ่งที่คนกลุ่มนี้ต้องการสื่อสารได้
Repeat: ฟีเจอร์นี้จะช่วยพูดซ้ำในสิ่งที่พูดไปแล้ว แต่จะใช้เสียงสังเคราะห์มาช่วยพูดให้เสียงดังฟังชัด ซึ่งจะมีประโยชน์มากๆเวลาที่ต้องสื่อสารแบบตัวต่อตัว หรือเวลาต้องการสั่งงานอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้าน อย่างลำโพงที่ต้องใช้การสั่งงานด้วยเสียง
Assistant: ฟีเจอร์นี้จะเป็นการสั่งงาน Google Assistant ได้จากในแอป Relate โดยตรงเลยค่ะ เช่น สั่งงานเปิดไฟ สั่งเล่นเพลงต่างๆได้สะดวกขึ้น
ทีมงานได้ใช้เวลาทำงานใกล้ชิดกับผู้มีปัญหาด้านการพูด หนึ่งในนั้นก็คือ Aubrie Lee ผู้บริหารด้านแบรนด์ของ Google เองที่มีปัญหาด้านการพูดเนื่องจากโรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน (muscular dystrophy) หลังจากที่ได้ใช้งานแอปนี้ ทางคุณ Aubrie บอกว่า “โครงการนี้ช่วยได้จริงๆ ทำให้คนอื่นแยกความแตกต่างระหว่างอาการสับสนและการหัวเราะได้ ที่สำคัญคือเธอเป็นคนที่ช่วยตั้งชื่อแอปนี้ด้วย
ใครที่อยากใช้งานสามารถร่วมทดสอบได้ โดยลงทะเบียนความสนใจเอาไว้ก่อนได้ที่ g.co/ProjectRelate โดยในเบื้องต้นจะรองรับแค่ภาษาอังกฤษก่อน
ที่มา Google