นักวิจัยจาก National University of Science and Technology (NUST MISiS) ในรัสเซีย คิดค้นวิธีเปลี่ยนเปลี่ยนหน้ากากอนามัยใช้แล้วให้กลายเป็นแบตเตอรี่ใช้แล้วทิ้ง ราคาประหยัด
ในช่วงโควิดที่ผ่านมา มีขยะที่เกิดจากหน้ากากอนามัยใช้แล้วทิ้งเยอะมากนับเป็นพันล้านชิ้น ถ้าหากเราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้งก็คงจะดีไม่น้อย ล่าสุดทางนักวิจัยจาก National University of Science and Technology (NUST MISiS) ได้เผยแพร่งานวิจัยในวารสาร Energy Storage ได้คิดค้นวิธีเปลี่ยนหน้ากากอนามัยให้กลายเป็น solid-state supercapacitor ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งมันคือชิ้นส่วนพื้นฐานในการผลิตแบตเตอรี่
ทางทีมวิจัยพบว่า หน้ากากอนามัยใช้แล้วนั้นเป็นวัสดุที่หาง่ายและถูกที่สุด เมื่อเทียบกับขยะชนิดอื่นๆเมื่อนำมาใช้ผลิต supercapacitor เพราะไม่ต้องใช้การแปรรูปในอุณหภูมิที่สูง แถมหน้ากากยังผลิตจากโพลีเมอร์ซึ่งสามารถนำมาใช้ทำ graphene saturation ซึ่งมีคุณสมบัติในการเก็บกักพลังงาน
เพียงแค่นำหน้ากากอนามัยไปบีบอัดและให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 140 องศาเซลเซียส ซึ่งเรียกว่าน้อยกว่ากระบวนการผลิตแบตเตอรี่ supercapacitor ทั่วไป จากนั้นนำ supercapacitor มาวางระหว่างขั้วไฟฟ้า ต่อจากนั้นก็นำไปแช่ในอิเล็กโทรไลต์ เสร็จแล้วทำการห่อหุ้มด้วยวัสดุแบบเดียวกับแผงยาพารา ผลที่ได้คือแบตเตอรี่ความจุสูง 98 watt-hours/kg ซึ่งใกล้เคียงกับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน
ทางนักวิจัยได้ทำการเพิ่มอนุภาคขนาดเล็กของ CaCo oxide type ไปยังขั้วไฟฟ้าที่ผลิตจากหน้ากากอนามัย ซึ่งในอนาคตจะสามารถเพิ่มความจุสูงสุดเป็น 208 watt-hours/kg
ที่มา reneweconomy