มัลแวร์แบบเดียวกับที่สร้างขึ้นมาเพื่อขโมยข้อมูลบัตรเครดิต ถูกนำมาดัดแปลงพุ่งเป้าไปที่ผู้ใช้ Instagram ด้วยการสร้างจำนวนไลค์และ follower ปลอม

 

 

จากการรายงานของ Reuters พบว่ามีการขายยอดกดไลค์ปลอมบน instagram ซื้อขายที่คิดคราวละ 1,000 ไลค์ แถมราคาก็ไม่ใช่น้อยนะ จากการสำรวจของ RSA บริษัทด้านความปลอดภัยพบว่าราคาขายอยู่ที่ยอดคนติดตามปลอมขายอยู่ที่ 15 ดอลล่าร์ ส่วนยอดไลค์ปลอม 1,000 ไลค์อยู่ที่ 30 ดอลล่าร์ ถือว่าแพงมากเมื่อเทียบกับข้อมูลบัตรเคดิตที่ขายแค่ 6 ดอลล่าร์เท่านั้น

วิธีการได้มาของการกดไลค์และคนติดตามก็คือการใช้มัลแวร์ที่มีชื่อว่า Zeus ที่ถูกค้นพบเมื่อปี 2007 ใน botnet network เพื่อขโมยข้อมูลธนาคารและบัตรเครดิตซึ่งมีคอมพิวเตอร์ติดไปหลายล้านเครื่อง มัลแวร์ตัวนี้ถูกนำมาดัดแปลง จะบังคับให้คนที่ติดไปกดไลค์และติดตามบัญชีผู้ใช้ที่กำหนดไว้ หรือดาวน์โหลดมัลแวร์ตัวอื่นมาเพิ่ม ตอนนี้ยังไม่มีตัวเลขรายงานว่ามีคนติดมัลแวร์ตัวนี้ไปมากน้อยแค่ไหน แต่ผู้เชี่ยวชาญบอกว่ามันเป็นมัลแวร์ตัวแรกที่สร้างขึ้นมาเพื่อกดไลค์บนสื่อสังคมออนไลน์โดยเฉพาะ

ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า ราคาขายเป็นตัวสะท้อนมูลค่าของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อธุรกิจหรือผู้ใช้ที่ต้องการโปรโมทแบรนด์ของตัวเอง การจ่ายเงินซื้อไลค์และคนติดตามปลอมเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายๆเพื่อช่วยดึงดูดให้คนอื่นๆมาสนใจซึ่งหลายๆบริษัทยินยอมจ่ายเงินส่วนนี้ โดยเฉพาะเวลามีแคมเปญอะไรใหม่ๆ แต่กการที่ใช้ทางลัดด้วยวิธีเหล่านี้ หากคนรู้เข้าก็จะส่งผลเสียกลับมายังแบรนด์เอง ซึ่งมูลค่าความเสียหายอาจจะมากกว่าที่จ่ายไปซะอีก

VIA theverge