ต่อจากนี้ไป, โลกและความเป็นอยู่ต่างๆของมนุษย์จะถูกจัดการโดยจักรกลทั้งหมด. ถ้าพูดเมื่อ 20 ปีก่อนก็คงนึกว่าพูดแคปชั่นในหนังแอ็คชั่นวิทยาศาสตร์ ที่มีหุ่นยนต์เดินทางข้ามเวลามาทำเหตุ. ปี 2020, ประโยคนี้กำลังกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปซะแล้ว. ไฟแดงจราจรมีกล้องตรวจจับผู้ฝ่าฝืนพร้อมออกใบสั่งเกือบจะอัตโนมัติ, กล้องตรวจจับความเร็วที่ไม่แค่ตรวจจับความเร็วแต่ยังอ่านป้ายทะเบียนรถแถมบางครั้ง ก็เห็นหน้าตุ๊กตาหน้ารถจนเกิดเรื่องดังทั่วโลก. จากนี้ไปเครื่องจักรกลจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และ มีอิทธิพลในการใช้ชีวิต อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นะครับ.

Terminator 2 : truck chasing scene

Terminator 2 : truck chasing scene

ระบบรู้จำใบหน้า (Facial Recognition) นำมาใช้ในการรักษาความปลอดภัยในหลายๆประเทศ, เพื่อใช้ติดตามและเฝ้าระวังพฤติกรรมต่างๆที่อาจก่อให้เกิดอันตราย. นักวิจัยกลุ่มหนึ่งที่มหาวิทยาลัย Northeastern University, MIT และ IBM เคลมว่าสามารถทำเสื้อยืดมีลายที่สามารถพรางตัวได้จากการตรวจหา–ด้วยระบบรู้จำใบหน้า.

face recognition tutorial from pytorials.com

face recognition tutorial from pytorials.com

Xue Lin, นักวิจัยร่วมและผู้เขียนเปเปอร์เล่าเรื่องทั้งหมดนี้, กล่าวว่า ระบบฯ จะรู้จำใบหน้าได้จากภาพใบหน้า และ วาดกรอบลงบนใบหน้าและแปะฉลากลงไปบนภาพ. อาศัยการคิดย้อนกลับกับทฤษฎีของ Face Recognition นักวิจัยสามารถหาลายเสื้อที่สามารถหลอก AI ให้หาหน้าของเราไม่เจอ.

AI ที่นักวิจัยได้แฮกแล้วก็คือระบบ Yolo V2 และ R-CNN. ทีมนักวิจัยพบว่ามีพื้นที่บางส่วนบนร่างกายที่หากเราเพิ่มลายเส้น หรือ ภาพวาดบางอย่างลงไปจะทำให้ AI งง. จนมองหน้าเราไม่เห็นหน้าเห็นตาเราเลยทีเดียว. ไม่รู้ว่าเห็นเป็นอะไรไปเหมือนกัน.

WIRED ระบุว่า, นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีคนพยายามแฮก AI แบบนี้. 2016, นักวิจัยจาก Carnegie Mellon และ North Carolina at Chapel Hill ได้ประดิษฐ์แว่นตาที่สามารถหลอก AI ให้หาหน้าคนไม่เจอได้สำเร็จมาแล้วรอบนึง. 2017, นักวิจัยทีมสหรัฐหลอก AI ให้มองเห็นป้าย “หยุด” ให้เป็นป้าย “จำกัดความเร็ว 45 mph” ได้สำเร็จโดยการเติม Graffti บางอย่างลงไปที่ป้ายหยุด.

img from bostonglobe.com

img from bostonglobe.com

นักวิจัยเรื่องเสื้อยืดแฮ็ค AI ตัวนี้เล่าว่า, เขาต้องพิจารณาส่วนโค้งส่วนเว้าเวลาสวมเสื้อยืดแล้วขยับตัว-เคลื่อนไหวร่างกายด้วย. ซึ่งการหลอก AI โดยใส่เสื้อผ้าแล้วเดินไปเดินมานี้, เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยหลอก AI ได้สำเร็จ. เพราะที่ผ่านมาวัตถุสำหรับหลอก AI จะต้องอยู่กับที่, ถ้าขยับวัตถุปับ AI สามารถกลับมาตรวจหาหน้าคนเจออีก.

คุณหลินเล่าว่าเป้าหมายหลัก คือ ตามหาจุดอ่อนของระบบ AI เพื่อให้บริษัทรักษาความปลอดภัยตระหนักตรงนี้. คุณหลินไม่ได้บอกว่าเป้าหมายรองมีอะไรบ้าง.

แปลและเรียบเรียงจาก : (WIRED 12-5-63)

รูปภาพจาก : (bostonglobe.com 25-11-62)