นักวิทยาศาสตร์จาก Queen Mary University ค้นพบวิธีเก็บ DNA จากอากาศ ซึ่งเทคนิคนี้จะช่วยให้เราเข้าใจการแพร่เชื้อโรคที่ลอยในอากาศอย่างโควิด-19 ได้ดีขึ้น
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและทดสอบแนวคิด (proof-of-concept) ว่านักวิจัยจะสามารถเก็บดีเอ็นเอที่ลอยอยู่ในอากาศได้รึไม่ โดยทางทีมวิจัยได้พยายามคิดค้นวิธีเก็บ environmental DNA (eDNA) หรือดีเอ็นเอที่เก็บมาจากสภาพแวดล้อม ผ่านการนำตัวอย่างอากาศ เพื่อนำมาใช้ระบุสายพันธุ์ของสัตว์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับตัวอย่างนั้นๆ แบบเดียวกับการเก็บ eDNA จากแหล่งน้ำ
การศึกษาของเขาได้ทำการเก็บตัวอย่างอากาศมาจากห้องที่เลี้ยงตุ่นหนูไร้ขนเอาไว้ จากนั้นก็ใช้เทคนิคที่คิดค้นเพื่อตรวจสอบ DNA ในอากาศ ผลการทดสอบนั้น นักวิจัยประสบความสำเร็จในการตรวจจับดีเอ็นเอของตุ่นหนูไร้ขนและมนุษย์ได้ นั่นหมายความว่าวิธีนี้สามารถตรวจจับ DNA ได้จริง รวมถึงสามารถต่อยอดไปใช้ในเชิงนิติเวชได้ซึ่งอาจจะทำให้การตามตัวผู้กระทำผิดได้เร็วขึ้น
ทาง Dr Elizabeth Clare ผู้นำในการวิจัยครั้งนี้กล่าวว่า “นี่เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าเราสามารถเก็บ eDNA ของสัตว์จากในอากาศ ที่จะเปิดกว้างไปสู่สำรวจชุมชนของสัตว์ในสภาพแวดล้อมที่เข้าถึงยาก เช่น ในโพรงหรือถ้ำโดยไม่จำเป็นต้องเข้าใกล้พวกมัน
ถ้าเทคนิคนี้สามารถใช้ประเมินสภาพแวดล้อมได้ ก็หมายความว่ามีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้ด้านนิติเวช, มานุษยวิทยาและเภสัชศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น นำมาศึกษาการแพร่กระจายของเชื่อโรคที่ลอยในอากาศอย่าง COVID-19.”
สำหรับคนที่สนใจสามารถติดตามอ่านงานวิจัยได้ในวารสาร PeerJ
ที่มา sciencefocus