ในสถานการณ์ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ทำสถิติใหม่เกือบทุกวัน การการเร่งตรวจโควิดนั้นอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกที่สุด เพราะระบบการรักษาพยาบาลนั้นมีจำกัด การใช้ข้อมูล Crowd sourcing อาจจะเป็นส่วนสำคัญในการวิเคราะห์เชิงลึกและแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น
ใน Facebook ของคุณ ปาล์ม นิธิกร บุญยกุลเจริญ – Nithikorn Bunyakulcharoen ได้นำเสนอแนวทางการรับมือกับโควิดด้วยการวิเคราะห์ข้อมุลได้อย่างน่าสนใจทีเดียวค่ะ ซึ่งคุณปาล์มนั้นเป็นว่าที่ผู้สมัครสก. ของพรรคก้าวไกล รวมถึงยังทำงานด้านไอทีอีกด้วย
คุณปาล์มมองว่าตอนนี้มีเว็บต่างๆที่เก็บข้อมูลและรายงานผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือผูดขึ้นมาให้ความช่วยเหลือหลายเว็บมากๆ ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ https://jitasa.care/ ,ระบบหาจุดตรวจโควิด https://wheretotestcovid19.com/ จากทีมอาสา เราช่วยกัน ข้อมูลพิกัดที่ถูกส่งเข้ามานั้นเป็นข้อมูลจริงจากผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นคนให้ จากพื้นที่จริงๅ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีการอัปเดตตลอดเวลา
หากเราใช้ประโยชน์จากเคสที่ขอความช่วยเหลือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกวัน มารวบรวมเอาไว้ที่เดียว เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลก็จะได้รายละเอียดเชิงลึกที่หน่วยงานภาครัฐต้องการหรือมองข้ามไป ทั้งภาพกว้างและแบบเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ไหนมีผู้ติดเชื้อแต่ละสีเป็นอย่างไร พื้นที่ไหนที่เป็นคลัสเตอร์ใหญ่ที่ควรจะเร่งเข้าไปช่วยเหลือก่อน หรือการจัดทำ Treding หรือ Heat Map ให้เห็นว่าจุดไหนมีการระบาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ควรเข้าไปควบคุมไม่ให้ลุกลามมากกว่านี้
จนไปถึงการวางแผนดูแลผู้ป่วยสีเขียวในกลุ่ม Home Isolation ในการส่งยาหรืออาหารก็ทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หากเราทำได้จะช่วยลดอัตราการติดเชื้อได้ ที่เหลือก็ต้องขึ้นกับหน่วยงานภาครัฐแล้วค่ะว่าใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้ยังไง
ที่มา ปาล์ม นิธิกร บุญยกุลเจริญ – Nithikorn Bunyakulcharoen