จะดีแค่ไหนถ้าใช้เครือข่ายไร้สายภายในบ้าน เฝ้าดูการหายใจของผู้ป่วยได้

เมื่อสองสามปีก่อนมีทีมนักวิจัยใช้เทคโนโลยีไร้สายทำให้มองผ่านกำแพงได้ มาปีนี้นักวิจัยทีมเดิมจาก University of Utah ได้เสริมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหวร่วมกับระบบไร้สารเพื่อติดตามการหายใจของผู้ป่วย ด้วยระบบนี้ไม่เพียงแต่การมองเห็นคนที่นอนอยู่อีกฟากผ่านกำแพง  แต่มันยังทำให้ได้ยินเสียงหายใจของเค้าได้ด้วย ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ติดตามอาการของผู้ป่วยยามหลับได้ อย่างเช่น คนที่มีภาวะหยุดหายใจชั่วคราว, คนไข้ที่กำลังผ่าตัด หรือเด็กทารกที่มีอัตราเสี่ยงเสียชีวิตจาก infant death syndrome.

Neal Patwari หัวหน้าทีมวิจัยได้ทดลองสาธิตระบบด้วยการนอนบนเตียง รายล้อมด้วย wireless transceiver จำนวน 20 ตัว ทำงานที่ย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ เค้าได้กำหนดการหายใจไว้ที่ประมาณ 15 ครั้งต่อนาที ยืนยันการวัดอีกทีด้วยเครื่องจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งอัลกอริทึ่มก็สามารถวัดอัตราการหายใจได้อย่างถูกต้องจากการใช้ข้อมูลแค่ 30 วินาทีเท่านั้น ซึ่งให้ผลที่ดีกว่าเครื่องมอนิเตอร์อื่นๆ ข้อดีก็คือระบบนี้มีราคาถูกว่ามอนิเตอร์จับลมหายใจที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แถมยังใช้ wireless transceiver แบบเดียวกับระบบไร้สายที่ใช้ในบ้านหรือที่ทำงานด้วย

ก้าวต่อไปก็คือการพัฒนาระบบนี้ให้ใช้ย่านความถี่อื่นๆให้ใช้ไปพร้อมๆกันตั้งแต่ 2 ย่านความถี่ขึ้นไป เพื่อที่จะติดตามการหายใจของคนไข้ได้ตั้งแต่ 2 ขึ้นไปได้ในเวลาเดียวกันเพื่อนำไปใช้ในโรงพยาบาลค่ะ

VIA popsci