เวลาที่คุณได้ฟังเพลงๆนึง คุณจะรู้ได้ยังไงว่าเพลงนั้นจะรุ่งหรือจะร่วง?

เชื่อหรือไม่ว่านักวิจัยจาก Bristol University ประเทศอังกฤษสามารถบอกคุณได้ล่ะ หลังจากที่พวกเค้าได้ใช้เวลาศึกษาชาร์ตเพลงฮิต Top 40 singles ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา วิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของเสียงทั้งเพลงฮิตและเพลงไม่ฮิต จนได้สูตรคำนวณนำไปใช้สร้างโปรแกรมวิเคราะห์ว่าปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เพลงประสบความสำเร็จฮิตติดลมบน และใช้ทำนายว่าเพลงนั้นจะมีโอกาสรุ่งรึป่าว ลักษณะเฉพาะที่นำมาใช้ทำนายความฮิตของเพลง ได้แก่ time signature, เทมโป, ความหลากหลายของบีต, danceability(เพลงนั้นชวนให้ลุกขึ้นมาเต้นได้มั๊ย) รวมถึงเสียงร้องประสาน และระดับเสียง (เสียงรบกวน/ความดัง) ซึ่งขั้นตอนต่อไปปของพวกเค้าก็คือการพัฒนา web app ที่ให้นักดนตรีมาให้คะแนนเพลงของตัวเองได้

Dr. De Bie, Senior Lecturer in Artificial Intelligence ได้อธิบายว่า “รสนิยมการฟังเพลงมีการพัฒนาตลอด นั่นหมายความว่าสูตรที่ใช้คำนวณจำเป็นมีการพัฒนาตามไปด้วยเช่นกัน การที่เพลงใดจะได้รับความนิยมขึ้นอยู่กับยุคสมัย ยกตัวอย่างเช่น เพลงที่ทำให้ผู้คนลุกขึ้นมาเต้นได้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เพลงติดอันดับในยุค 1980s แต่ปัจจัยนี้กลับลดความสำคัญลงเมื่อเข้าสู่ต้นยุค 90s ที่เพลงแนวบัลลาดร็อคได้รับความนิยมขึ้นมาแทนที่ ในยุค 80s เพลงช้า (ที่มีเทมโป 70-89 ต่อนาที) มีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นเพลงฮิต ยกตัวอย่างเช่น เพลง If You Don’t Know Me By Now เวอร์ชั่นของSimply Red ที่เอามาทำใหม่ให้มีจังหวะช้าลง, ใช้เสียงประสานที่เรียบง่ายร่วมกับเหล่าคอรัส กลับได้รับความนิยมมากกว่าบทเพลงเวอร์ชั่นต้นฉบับซะอีก

แต่อย่างไรก็ตามการคำนวณด้วยวิธีนี้ยังมีความแม่นยำแค่ 60% ยังห่างไกลจากการนำมาใช้จริงอยู่มาก แต่สูตรนี้ก็อัตราการประสบความสำเร็จสูงอยู่เมื่อนำมาใช้พยากรณ์เพลงฮิตติดชาร์จอันดับต้นๆ ปัญหาอีกอย่างก็คือระบบนี้ใช้วิเคราะห์ลักษณะเฉพาะเพลงที่แต่งและเรียบเรียงเสร็จเรียบร้อยแล้วทั้งเพลง แล้วถ้าเพลงนั้นอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการแต่ง นักแต่งเพลงก็ไม่สามารถใช้มันพยากรณ์ได้เลยว่ามันจะฮิตหรือเปล่า นอกจากนี้บางเพลงก็มีข้อยกเว้น ถึงใช้สูตรนี้คำนวณแล้วว่าเพลงไม่น่าจะฮิต แต่ก็เกิดฮิตขึ้นมาได้อย่างเพลง Nessun Dorma และ November Rain ค่ะ

[youtube http://www.youtube.com/watch?v=CEfTrROi9ms&w=560&h=315]

VIA gizmag