นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีใหม่ที่ช่วยชะลอภาวะโลกร้อน แต่วิธีการออกจะแปลกๆไปซักหน่อย

นั่นก็คือการทิ้งไอออนซัลเฟตลงในมหาสมุทร ซึ่งมันจะไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของสาหร่ายทะเลที่ช่วยดักจับก๊าซคาร์บอนผ่านการสังเคราะห์แสง เมื่อสาหร่ายตายก็จะจมลงใต้ยังใต้พื้นมหาสมุทรพาคาร์บอนไปพร้อมกับมัน

นี่คือผลงานวิจัยจาก European Iron Fertilization Experiment (EIFEX) ที่เพิ่งเผยแพร่ออกมาเมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งทีมงาน EIFEX ได้ลองปล่อยไอออนซัลเฟตในพื้นที่มหาสมุทรตอนใต้กว่า 167 ตารางกิโลเมตรครั้งแรกเมื่อปี 2004 หลังจากนั้น 37 วันต่อมาก็ปรากฏว่าแพลงค์ตอนพืชและสาหร่ายทะเลมีการเติบโตและตายลง แต่สิ่งที่เค้าพบก็คือจำนวนอย่างน้อยครึ่งนึงของแพลงค์ตอนที่ตายและจมลงไปลึกกว่า 1,000 เมตรจะจับและพาคาร์บอนไปพร้อมกับมันด้วยซึ่งกว่าซากของมันจะถูกย่อยสลายจนทำให้คาร์บอนที่จับเอาไว้ถูกปล่อยออกมาก็ต้องใช้เวลานัับหลายร้อยปี แต่ถ้ามันตายและลอยขึ้นสู่ผิวน้ำทะเลมีโอกาสที่คาร์บอนที่ดักไว้จะกลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศอีก

แต่ถึงอย่างไรก็ตามวิธีนี้ยังมีข้อเสียอยู่ นั่นก็คือ ผลระยะยาวที่เกิดจากการเพิ่มซัลเฟตลงในทะเลซึ่งอาจก่อให้เกิดผลเสียกับระบบนิเวศในทะเลได้ การที่พืชในน้ำมีจำนวนมากขึ้นก็จะเกิดการแย่งออกซิเจนกัน รวมถึงอาจจะทำให้สาหร่ายพันธ์ุที่เป็นพิษเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นมากด้วย

VIA Slashgear