รอยแยกเล็กๆบนผิวคอนกรีตถ้าทิ้งไว้นานๆอาจจะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาได้หากไม่ได้รับการซ่อมแซม

ด้วยเหตุนี้ทางนักวิจัยจึงได้พัฒนาคอนกรีตที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ด้วยการใช้สารเคลือบที่ทำปฏิกิริยากับแสงอาทิตย์มาซ่อมแซมรอยแตกในระยะเริ่มต้นก่อนที่รอยแตกนั้นจะขยายตัวไปในวงกว้างจนส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอื่นๆ นั่นหมายถึงการประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณในการดูแลรักษาได้อีกเยอะเลยล่ะ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีงานวิจัยเกี่ยวกับวัสดุต่างๆที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้เกิดขึ้นมากมาย ด้วยการใช้วิธีที่ต่างกัน กรรมวิธีที่ทำให้คอนกรีตซ่อมแซมตัวเองได้ก่อนหน้านี้จะเน้นไปที่ความเค้นและความเครียดที่มาทำให้คอนกรีตเสียหาย

แต่วิธีการของ Chan-Moon Chung ศาสตราจารย์ด้าน polymer chemistry จาก Yonsei University ประเทศเกาหลีใต้หันไปเน้นที่สารเคลือบพื้นผิวแทน ปกติเมื่อคอนกรีตมีรอยแตกเล็กๆก็จะทำให้น้ำ, ประจุคลอไรด์จากน้ำเค็มและคาร์บอนไดออกไซด์เจาะเข้าไปทำลายโครงสร้างภายในจนทำให้คุณภาพคอนกรีตเสื่อมลงจนเกิดการเสียหายใหญ่ตามมา สารเคลือบแบบใหม่นี้จะบรรจุแคปซูลโพลีเมอร์ขนาดเล็กมากๆ เวลาที่คอนกรีตเริ่มมีรอยแยกก็จะทำให้แคปซูลนี้แตกออกด้วยเช่นกัน ของเหลวที่บรรจุไว้ภายในก็จะไหลออกมาไหลไปรวมที่รอยแยกและเมื่อมันโดนแสงอาทิตย์ก็จะก่อตัวเป็นของแข็งขึ้นมา

ในการสาธิตประสิทธิภาพของสารเคลือบคอนกรีตตัวนี้ เค้าได้พ่นสารนี้ลงไปบนผิวหน้าของคอนกรีต แล้วใช้ใบมีดกรีดให้คอนกรีตเป็นรอยเล็กๆ แล้วนำไปตากแดดเป็นเวลาหลายชั่วโมงก็พบว่ารอยเหล่านั้นได้หายไป

งานต่อไปของพวกเค้าก็คือการหาส่วนผสมของสารเคลือบที่ดีที่สุดเพื่อให้ใช้งานได้นานขึ้น เพราะตอนนี้มันยังมีความอยู่ตัวสามารถใช้งานแค่ 1 ปีเท่านั้น

VIA technologyreview