เชื่อว่าในสมาร์ทโฟนแทบทุกเครื่องจะต้องมีการติดตั้งแอปพลิเคชั่นยอดนิยมอย่าง LINE แอปพลิเคชั่นที่ทำให้ การติดต่อสื่อสารในทุกๆวันเป็นไปอย่างราบรื่น แต่ตอนนี้ไลน์ไม่ได้มีดีแค่การสื่อสารแล้วนะคะ เพราะทางไลน์ได้เล็งเห็น ถึงไลฟ์สไตล์ของผู้คนในยุคปัจจุบันว่าเต็มไปด้วยความเร่งรีบ และคงจะดีไม่น้อย ถ้าบริการด้านการเงินก็สามารถทำได้ ง่ายๆผ่านสมาร์ทโฟนของเราด้วยแอปพลิเคชั่นต่างๆของ LINE ค่ะ

ในปี 2019 ไลน์เริ่มให้บริการการบริการเกี่ยวกับการเงินมากขึ้นตลอดเรื่อยๆตลอดปี โดยมีบริการเกิดขึ้น มากกว่า 70 บริการ และเริ่มให้บริการจริงไปแล้วกว่า 20 บริการ รวมถึงมีการเปิดตัว Bitmax Cryptocurrency ที่เป็นการร่วมมือกับของหลากหลายพาร์ทเนอร์ จึงทำให้เกิดการใช้จ่ายเงินที่ง่ายขึ้น คล่องตัวขึ้น จับจ่ายสบายมือเลยทีเดียว

LINE Pay การบริการทางการเงินของไลน์อีกช่องทางหนึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยทั่วโลกนั้นมีผู้ใช้บริการรวมทั้งสิ้นกว่า 50 ล้านคน และเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นนั้นมีมากถึง 37 ล้านคน หรือแม้กระทั่งประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของเราอย่างเวียดนาม ก็ใช้ LINE Pay ในเชิงพาณิชย์กันอย่างแพร่หลายเลยทีเดียว

หนึ่งในบริการทางการเงินที่กำลังเกิดขึ้นอีกหนึ่งบริการก็คือ LINE Mini App. ที่เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมทุกอย่างเอาไว้ที่เดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาข้อมูล รวมทั้งยังเป็นช่องทางที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างหน้าเพจและข้อมูลการบริการของตนเองไว้บนแพลตฟอร์มของไลน์ และในส่วนของผู้ใช้งานยังสามารถกด Favorite หรือการบันทึกร้านค้า ร้านอาหารเจ้าโปรดของคุณได้ง่ายๆที่ Home Tab ใน LINE Mini App. อีกทั้งยังมีช่องทางสำหรับการจองร้านอาหารที่เป็น Tab เล็กๆอยู่บนแอปฯ โดยที่ข้อความ การตอบรับทุกอย่างจะสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้โดยตรงผ่านช่องทางการแชท ซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ได้ฐานลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

สิ่งที่ LINE DEV DAY 2019 กล่าวถึงเป็นอย่างมากก็คือนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่จะมอบประสบการณ์สุดพิเศษที่ไม่ว่าคุณจะทำจะค้นหาจะอะไรก็ตามจะง่ายขึ้น โดยที่มีน้อง AI ตามติดอยู่กับคุณเสมอๆ แต่การที่จะจัดการข้อมูลต่างๆได้อย่างเรียบร้อยนั้นต้องเกิดขึ้นบนพื้นฐานการจัดการที่เป็นระบบ ด้วยการใช้แพลตฟอร์มที่สามารถรวมหลักการหลัก 2 ข้อในการจัดการข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันซึ่งก็คือ

1. ความส่วนตัวที่ต้องมาก่อน จริงอยู่ที่ว่าความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันความเป็นส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่ลูกค้าจะคำนึงถึงในลำดับแรกๆและด้วยฐานข้อมูลมักมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ ตัวระบบและกระบวนการที่จะเข้ามาจัดการนั้นก็ต้องอยู่บนพื้นฐานความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว 

2. หลีกเลี่ยงการจัดเก็บข้อมูลแบบแท่งคอนกรีต (Data Silo) ซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นออกมาใช้ได้ ที่แม้จะมีต้นทุนที่สูงและทำได้ยากกว่าในการจัดการฐานข้อมูลต่างๆ แต่ก็จะเป็นการดีกว่าหากลดสามารถบทบาทของ Data Silo ลงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อการใช้งานที่คล่องตัวขึ้นซึ่งความเฉลียวฉลาดของ AI นี้ LINE ยังได้เอามีปรับใช้งานกับฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดอย่าง Smart Channel ที่จะมอบประสบการณ์ที่ตรงกับพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้งานแต่ละราย โดยที่ผู้ใช้งานแทบไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำและตัวเลือกที่เหมาะสมที่ใช้งานกับฟีเจอร์นี้ก็มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Line Messenger, Line News, Line Manga หรือแพลตฟอร์มโฆษณาต่างๆ

LINE BRAIN นวัตกรรมที่ทำหน้าที่เป็นฮับของเจ้า CLOVA ที่สามารถจำแนกความแตกต่างตามลักษณะท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกาและจีนได้อย่างชาญฉลาด โดยมีฟังก์ชั่นพื้นฐานดังนี้ค่ะ 

1. การจดจำใบหน้า ที่สามารถจดจำได้มากถึง 2000 ยูสเซอร์ และใช้งานได้อย่างลื่นไหลบนแอปพลิเคชั่นในแท็ปเล็ต 

2. AI OCR ที่มีความแม่นยำสูงถึงขั้นที่สามารถสร้างลายมือจำลองของผู้ใช้งานเสมือนว่าเขียนด้วยมือจริงๆ สามารถเขียนรายงานแทนเราได้ โดยอยู่บนพื้นฐานของตัวเขียนภาษาญี่ปุ่นที่รองรับทั้งฮิรากานะและคาตาคานะผ่านหุ่นยนต์ช่วยเขียนของทามุระซัง

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายวิธีที่ AI สามารถช่วยให้ความสะดวกสบายแก่เราได้ ทั้งการจดจำลายมือ ลายเขียนหรือร่างภาพ (Handwritten Font Generator) โดยพัฒนาด้วยการต่อยอดจากสามภาษาหลักแรกเริ่มคือ ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่นและภาษาเกาหลี

รวมถึงยังสามารถใช้งานกับการแปลงเสียงเป็นข้อความ (STT) และการแปลงข้อความเป็นเสียง (TTS) โดย  AI จะเข้ามารองรับการสำรองที่นั่งของร้านอาหารด้วยการใช้เสียง ที่ให้เสียงสมจริงมากยิ่งขึ้น ด้วยบริการที่มีชื่อว่า LINE AiCall ที่เพิ่งเริ่มใช้งานจริงกับร้านอาหารที่ร่วมรายการไปสดๆร้อนๆ เมื่อวันที่ 20 พฤษจิกายน  2019 ที่ผ่านมา

ด้วยการใช้งานผ่านลำโพง CLOVA ตัวเก่ง รวมทั้งยังสามารถจดจำ Speaker จากงาน LINE DEV DAY 2018 ได้ด้วยว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ที่ไหน และสามารถใส่บทบรรยาย (Subtitle) และหาข้อมูลจากข้อความในคลิปที่ Speaker พูด ไม่ว่าเวลาจะผ่านมาแล้วนานนับปี เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างลื่นไหล ไม่เกิดการดีเลย์ สามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วันต่อสัปดาห์

นยุคที่มีข้อมูลและการบันทึกใหม่มากกว่า 1 ล้านล้านข้อมูล LINE จึงต้องเริ่มแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นอุปสรรคของ Data Silo ให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ ตามมาด้วยความท้าทาย เรื่องคุณภาพของข้อมูล ที่ทำให้นักวิเคราะห์ข้อมูลต้องยุ่งยาก ในการคัดแยกเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องจำนวนมากออกมา การรองรับการใช้งานที่มีผู้ใช้งานอยู่ทั่วโลก ทาง LINE จึงต้องมีเซิร์ฟเวอร์มากถึง 40,000 ยูนิตทั่วโลก เพื่อเป็น การขยายการบริการไปยังอเมริกาเหนือและทั่วทั้งเอเชียได้อย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยไลน์ได้ระดมวิศวกรมากกว่า 60 คนรวมทั้งเงินลงทุกมหาศาลในการสร้าง Verda บน Openstack ที่เป็น Private Cloud ของไลน์ ทำให้มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ซึ่งจะช่วยดูแลปัญหาที่นักพัฒนาพบเจอและช่วยสร้างบริการใหม่ออกมารองรับปัญหาต่างๆด้วยค่ะ

เห็นได้ชัดอยู่แล้วนะคะว่าการพัฒนาทุกอย่างที่ไลน์ทำออกมานั้นก็เพื่อที่จะตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ มีความสำคัญที่สุดในการใช้งานแพลตฟอร์ม ทำให้ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานต้องมาเป็นอันดับแรกด้วยเช่นกัน Privacy by Design เป็นหลักการที่ไลน์ยึดเป็นหลักในการออกแบบแพลตฟอร์มสำหรับการจัดระเบียบข้อมูล เป็นหลักการที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบ เพื่อให้ได้แพลตฟอร์มสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง มีความปลอดภัยสูงสุด จนทำให้ปี 2018 ไม่มีรายงานของ LINE Account HiJack หรือการโดนขโมยแอคเคานท์ไลน์ ที่เคยเกิดขึ้นจากการมีแอคเคานท์ของไลน์เป็นจำนวนมากที่มาจากการใช้งานจริง

ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจะไม่สามารถทำให้ผู้ใช้งานสบายใจได้เลย หากไม่มีการดำเนินการที่โปร่งใส ไลน์จึงยึดหลักการเปิดเผย โปร่งใส ก้าวไกลสู่ประตูสากลจึงทำให้มี Transparency Report  หรือการรายงานเรื่องข้อมูลประจำปี ด้วยการจัด LINE Intertrust Summit ที่จะเจาะลึกในเรื่องของข้อมูลผู้ใช้งาน เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานทุกคน พร้อมท้าทายโลกด้วยการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี AI ด้วยวิสัยทัศน์และเทคโนโลยีที่นำสมัยที่สุดไปพร้อมๆกันค่ะ