การปลูกกาแฟต้องใช้แรงงานจำนวนมาก แถมยังการผลิตยังก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหานี้ทาง นักวิจัยจาก VTT Technical Research Centre ของฟินแลนด์ พัฒนากาแฟเพาะในห้องแล็ปด้วยเซลล์พืชและอุปกรณ์ปฏิกรณ์ชีวภาพ  ได้รสชาติและกลิ่นที่ดีกว่ากาแฟที่ปลูกเองตามธรรมชาติ

กาแฟถือเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของคนทั่วโลก แต่การปลูกนั้นต้องใช้พื้นที่จำนวนมากแถมยังก่อปัญหาอื่นๆตามมาอีก นั่นจึงทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนพลายามคิดค้นกาแฟทางเลือกขึ้นมา หนึ่งในนั้นคือ กาแฟเพาะในห้องแล็ป

สิ่งที่แตกต่างจากการปลูกกาแฟทั่วไปคือ กาแฟเพาะในห้องแล็ป นั้นจะใช้กระบวนการที่มีชื่อว่า cellular agriculture หรือการนำเซลล์พืชและอุปกรณ์ปฏิกรณ์ชีวภาพ (bioreactor) มารวมกับสารอาหารเพื่อสร้างผลผลิตในห้องทดลอง

กระบวนการผลิตนั้นเริ่มต้นจากการเก็บเกี่ยวเซลล์ที่อยู่ในใบของต้นกาแฟ จากนั้นนำมาจัดเรียงเซลล์ใหม่ในห้องทดลองแล้วส่งไปยังเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพเพื่อวิเคราะห์ชีวมวล จากนั้นก็จะนำไปคั่ว ผลที่ได้คือ กาแฟที่เหมือนกับกาแฟทั่วไปแต่มีรสชาติและกลิ่นที่ดีกว่า

กาแฟเพาะในห้องแล็ปนั้นยังอยู่ในช่วงของการทดลอง แต่เนื่องจากการผลิตนั้นใช้เทคนิคเฉพาะ จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน เช่น องค์การอาหารและยา ถึงจะนำออกขายเชิงพาณิชย์ได้ นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องพัฒนากระบวนการผลิตให้ขยายตัวรับการผลิตปริมาณมากๆด้วย หากได้รับการอนุมัติเมื่อไหร่ก็อาจจะเป็นอีกทางเลือกของคนที่ชอบดื่มกาแฟ

 

ที่มา Slashgear