ใครที่จะทำหน้าที่รีวิวหนังสือได้น่าเชื่อถือกว่ากันระหว่างนักวิจารณ์มืออาชีพหรือนักรีวิวสมัครเล่นใน Amazon.com งานวิจัยล่าสุดจาก Harvard Business Review จะทำให้คุณได้พบคำตอบที่คาดไม่ถึง

 

ผลการศึกษาจากนักวิจัยของ Harvard Business School บอกว่ารีวิวจากนักวิจารณ์สมัครเล่นและคนที่อ่านหนังสือทุกๆวันมีความน่าเชื่อถือเทียบเท่ากับนักวิจารณ์มืออาชีพเลยทีเดียว ในขณะที่ผู้แต่งหนังสือก็ชอบที่รับมือกับคนที่ไม่ได้เป็นนักวิจารณ์มืออาชีพมากกว่าเพราะว่าเค้าจะได้รับคำติชมที่ยุติธรรมและอยากได้ยินกว่า

การศึกษาครั้งนี้มีชื่อว่า What Makes a Critic Tick? Connected Authors and the Determinants of Book Reviews เค้าได้นำบทความรีวิวหนังสือหลายร้อยบทความจากหนังสือพิมพ์และนิตยสาร 40 หัวที่ต่างกันมาเปรียบเทียบกับรีวิวจากลูกค้าที่ซื้อหนังสือจาก Amazon.com เพื่อศึกษาดูว่ามีความแตกต่างที่เห็นเด่นชัดหรือเปล่าทั้งในแง่ของจุดประสงค์การรีวิวและอคติ สื่อสิ่งพิมพ์ที่นำมาเปรียบเทียบก็มีสื่อกระแสหลักอย่าง Entertainment WeeklyThe Onion‘s AV Club และ LA Weekly รวมถึงกลุ่มหนังสือสำหรับคนที่มีรสนิยมสูงอย่าง London Review of Books และ New York Times Book Review รีวิวหนังสือที่นำมาทดสอบประกอบด้วยหนังสือกลุ่มที่ไม่ใช่นิยายจำนวน 100 เรื่องที่ตีพิมพ์ระหว่างปี 2004 – 2007

ผลการศึกษาที่นำโดยศาสตราจารย์ Loretti I. Dobrescu, Michael Luca และ Alberto Motta พบว่ารีวิวหนังสือพิมพ์และนิตยสารไม่เพียงแต่จะชื่นชอบผลงานของนักเขียนคนที่ได้รับความสนใจจากสื่อหรือนักเขียนที่ได้รับรางวัลมาก่อน แต่รีวิวอีก 25% มีแนวโน้มที่ชอบหนังสือของนักเขียนที่เคยมีผลงานกับสำนักพิมพ์ของตัวเองมาก่อน (ทางผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตว่าอคติแบบนี้อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ รีวิวในเชิงบวกเหล่านี้อาจเกิดมาจากรสนิยมมากกว่าการสมรู้ร่วมคิด)

สิ่งที่น่าประหลาดใจมากไปกว่านั้น นักวิจารณ์มืออาชีพและนักรีวิวจาก Amazon มักจะมีความคิดเห็นเหมือนๆกันเกี่ยวกับคุณภาพหนังสือ ในรายงานกล่าวว่า “ผู้เชี่ยวชาญและผู้บริโภคมักจะเห็นด้วยกับคุณภาพหนังสือโดยรวม แต่ไม่ใช่ว่ามันจะเหมือนกันทุกกรณี เมื่อเทียบกับรีวิวหนังสือเล่มแรกของนักเขียนหน้าใหม่ นักวิจารณ์มืออาชีพจะให้ความชื่นชอบน้อยกว่ารีวิวจากนักรีวิวจาก Amazon.com”

ถ้าหากรีวิวจากมืออาชีพจะมีความเอนเอียงโดยความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือความสัมพันธ์ด้านหน้าที่การงานกับผู้แต่งหนังสือแล้ว (จากรายงานพบว่านักเขียนคนที่เคยมีผลงานกับสำนักพิมพ์มาก่อนจะมีโอกาสเพิ่มขึ้นมาอีก 5 % ที่จะได้รีวิวในเชิงบวก) และมีแนวโน้มที่จะให้คะแนนนักเขียนหน้าใหม่อย่างเป็นธรรม คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ เป็นอย่างนี้แล้วมันดียังไง? ไม่ว่าเรื่องนี้จะเกิดจากอคติหรือไม่ อย่างน้อยคุณก็สามารถมั่นใจได้ว่านักวิจารณ์มืออาชีพมีตัวตนจริงๆ ในขณะที่บทความรีวิวออนไลน์หลายๆบทความเป็นสิ่งที่ปลอมขึ้นมา สิ่งที่สำคัญก็คือไม่ว่าคุณจะเลือกเชื่อใครว่าจะซื้อสินค้าชิ้นนั้นหรือไม่ แต่สุดท้ายคุณก็เป็นคนตัดสินใจคนสุดท้ายก่อนที่จะควักเงินจ่ายออกไปเพราะฉะนั้นต้องใช้ความคิดและวิจารณญาณให้ดีก่อนค่ะ
VIA digitaltrends