นอกจากเว็บไซต์แล้วตอนนี้หลายคนเริ่มหันมาช้อปผ่านทางโซเชียลมีเดียมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram รวมถึง LINE  ทำให้ความเสี่ยงในการช้อปปิ้งมีมากขึ้น เพราะใครๆก็สามารถเข้ามาเปิดร้านขายของได้ง่ายๆ ทำให้การโกงต่างๆทำได้ง่ายขึ้น ถ้าหากคุณไม่อยากเป็นเหยื่อ นี่คือ 5 กฎเหล็กที่ขาช้อปออนไลน์ต้องจำให้ขึ้นใจ

1. ระวังข้อมูลส่วนตัว

สิ่งที่ขาช็อปหลายคนไม่ค่อยระวังกันก็คือ ข้อมูลส่วนตัวโดนแฮกทีคงไม่คุ้มกับสิ่งที่โดนขโมยไป ทั้งชื่อที่อยู่ เบอร์โทร ข้อมูลบัตรเครดิตและอีกสารพัด ซึ่งระวังได้ง่ายเริ่มจากที่ตัวเองก่อน เพียงแค่ ตั้งรหัสผ่านให้เดาได้ยาก เลิกสักทีค่ะกับรหัสอย่าง 123456

อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันหลายคนขี้เกียจจำรหัสผ่านเลยใช้รหัสผ่านเหมือนกัน ไม่ว่าจะ Facebook ,LINE จนไปถึงอีเมล ซึ่งพฤติกรรมนี้เสี่ยงมาก ไม่ควรใช้รหัสชุดเดียวกันกับหลายๆบริการที่อยู่บนออนไลน์ เพราะนั่นหมายความว่าถ้าแฮกเกอร์ได้รหัสผ่านไปก็จะเข้าถึงข้อมูลบริการอื่นๆที่คุณใช้อยู่ได้หมด

Trick 1 : เพื่อให้การแฮกข้อมูลยากขึ้น แนะนำว่าควรเปิดใช้งานการยืนยันตัวตน 2 ชั้น เพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้นด้วยรหัสผ่านที่ส่งมาทาง SMS ยืนยันตัวตนอีกชั้น

2.เช็คร้านที่เราจะซื้อมีความน่าเชื่อถือแค่ไหน

หลายคนมัวแต่หน้ามืดกับของราคาถูก จนลืมดูความน่าเชื่อของร้าน สุดท้ายจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว ไม่ส่งของปิดร้านหนีก็มีให้เห็นเยอะแยะ ก่อนจะกดซื้อของร้านไหน เสียเวลาสักนิดเช็คความน่าเชื่อถือของร้านให้มั่นใจก่อนเงินจะออกจากกระเป๋า

เช็คง่ายๆลองดูว่าเปิดร้านมานานแค่ไหน แน่นอนว่าร้านที่เพิ่งเปิดย่อมมีความเสี่ยงมากกว่าร้านที่อยู่มานาน ต่อมาดูเรื่องของยอดคนกดไลค์ คนกดติดตามว่ามีปริมาณมากน้อยแค่ไหน เจ้าของร้านมีปฏิสัมพันธ์กับคนเป็นยังไง มีการวีนการเหวี่ยงหรือแอบลมคอมเมนท์รึเปล่า

รวมถึงรีวิวของลูกค้าที่ซื้อไปก่อนหน้านี้ ว่าได้ของจริง ของที่ได้ตรงกับรูปที่สั่งไป เวลามีปัญหาจัดการให้ยังไง ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้การตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

ถ้าเป็นเว็บขายของแบบจริงจัง ให้ลองเช็คว่ามีการจดทะเบียนทะเบียนพาณิชย์สำหรับร้านค้าออนไลน์ เวลาทที่มีปัญหาจะได้อุ่นใจ

Trick 2 : ในกรณีที่ซื้อของผ่านเว็บ แนะนำให้ดูที่ช่อง URL ว่าเป็น HTTPS รึเปล่า เพราะจะมีการเข้ารหัสตามมาตรฐานสากล ป้องกันการแฮกข้อมูล

3. ช่องทางโอนเงิน

ร้านที่น่าเชื่อถือนั้นจะรองรับการจ่ายเงินที่หลายหลากค่ะ  มีหมดทั้งบัญชีธนาคาร, พร้อมเพย์, QR Codes หรือ Wallet ส่วนใหญ่จะมีครบทุกช่องทางเพื่อให้ซื้อง่ายขายคล่อง เพราะลุกค้าแต่ละรายเองก็สะดวกการจ่ายเงินที่ไม่เหมือนกัน

ร้านไหนเน้นจ่ายเงินผ่านแอป Wallet อย่างเดียวควรระวังไว้ เพราะบัญชีพวกนี้เปิด/ปิดง่าย หลอกเงินเหยื่อได้แล้วก็ปิดหนี ไปเปิดบัญชีใหม่หลอกเหยื่อรายต่อไป

ที่สำคัญจ่ายแล้วอย่าลืมเก็บหลักฐานให้ดี ชื่อคนขายชื่อร้าน ชื่อบัญชีธนาคาร เผื่อเวลามีปัญหาจะได้ตามตัวถูก

Trick 3 : ถ้าไม่มั่นใจก็ลองเอาชื่อหรือบัญชีไปค้นในอินเทอร์เน็ตว่าติดรายชื่อคนโกงที่มีการแชร์เอาไว้รึไม่ จะได้ไม่เสียเงินไปฟรีๆ

4.ไม่กดคลิกลิงค์ข้อเสนอโปรโมชั่นที่ส่งมาทาง SMS หรืออีเมล

หลายคนพอเห็นโปรโมชั่นที่ส่งมาทาง SMS หรืออีเมลก็ตาลุกวาว อดใจไม่ไหวที่จะกดเข้าไปดู แต่สุดท้ายแล้วก็เป็นการ Phishing หลอกให้เรากรอกข้อมูลส่วนบุคคลหรือขโมยรหัสผ่านของเราแทน

Trick 4 : ถ้าอยากรู้ว่าร้านไหนมีโปรโมชั่นอะไร แนะนำว่าให้กดเข้าไปดูที่เว็บอย่างเป็นทางการของสินค้านั้นๆเลยค่ะ

5. ติดตั้งซอฟต์แวร์ด้านปลอดภัย

อีกเรื่องที่สำคัญก็คือการติดตั้งโปรแกรมหรือแอปที่ช่วยป้องกันความปลอดภัยเอาไว้บนคอมพิวเตอร์และมือถือ ลงเถอะค่ะโปรแกรม Antivirus และ Personal Firewall ช่วยป้องกันภัยออนไลน์ได้จริง

NDID

หนึ่งในความพยายามของภาครัฐ คือ การพัฒนาแพลตฟอร์ม NDID หรือ National ID เพื่อพิสูจน์และใช้ยืนยันตัวตนบนโลกดิจิทัล เพื่อช่วยให้การทำธุรกรรมต่างบนดิจิทัลมีความสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น

สิ่งที่ ETDA นำมาโชว์ในงาน OIIO ก็คือเรื่องของการยืนยันตัวตนผ่านมือถือ เพื่อช่วยให้ซื้อง่ายขายคล่องขึ้น ทำยังไงให้เขาเชื่อว่าเราเป็นใคร ทำยังให้ลูกค้ามั่นใจว่าเขาเป็นใคร แล้วเขาอยากทำธุรกรรมแล้วข้อมูลเขามีความปลอดภัย ใครอยากรู้ว่า DIGITAL ID มีความสำคัญยังไงลองกดดูคลิปด้านล่างได้เลยค่ะ

อีกเรื่องที่ทาง ETDA ให้ความสำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องของ Cyber Security ซึ่งในเมืองไทยเองก็มีสมาร์ทอัพที่ทำเกี่ยวกับด้านนี้อยู่หลายที่ ซึ่งทาง ETDA พยายามที่จะรวบรวมและชักชวนคนกลุ่มนี้ให้มารับรับโจทย์ไปทำต่อยอด เช่นเรื่องของมัลแวร์หรือภัยคุกคามมากมาย ไม่ใช่แค่พบแล้วฆ่าหรือกำจัดมันทิ้ง แต่ทาง ETDA อยากให้สตาร์ทอัพ รวมถึงนักคิดทั้งหลายมาต่อยอดว่า พวกมัลแวร์พวกนี้จะสามารถพัฒนาเป็นซอฟท์แวร์ รับมือการจู่โจมทางไซเบอร์ได้อย่างไร เริ่มต้นจากการที่รวบรวมคน ซึ่งเขามีแวว มีไอเดียดีดี ผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นยูนิคอร์นก็เป็นได้

สิ่งที่ ETDA คิดคืออะไร วันนี้ต้องการสนับสนุนให้เอกชนทำงานด้วยกัน รัฐมีหน้าที่ปลดล็อกในสิ่งที่เขาต้องการ ยูนิคอร์นเกิดขึ้นในประเทศไทยอาจจะยาก ไทยเองถือว่ามีเรื่องความพร้อมทั้งเงินและคน แต่สิ่งที่เรายังขาด คือความจริงจังในกลไกของรัฐที่เข้าไปสนับสนุนผลักดัน ถ้าแก้ได้สตาร์ทอัพไทยจะไปได้ไกลเลยค่ะ