หน้ากากอนามัยหากใช้ไม่ถูกวิธีแทนที่จะป้องกันการติดเชื้อ กลับกลายเป็นเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อให้มากขึ้น ลองไปดูกันว่าหน้ากากอนามัยนั้นใช้ยังไงให้ถูกวิธี
หน้ากากอนามัยไม่ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
วัตถุประสงค์ของการใส่หน้ากากอนามัย ก็เพื่อให้คนที่ป่วยเป็นโรคที่สามารถแพร่กระจายทางลมหายใจสวมใส่เอาไว้ ช่วยลดปริมาณเชื้อโรคที่ปล่อยออกมาทางลมหายใจ รวมถึงการไอ/จาม มีการศึกษามาแล้วว่าช่วยลดลงการแพร่กระจายได้ถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว
สำหรับคนทั่วไปที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง การสวมใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะนั้น ไม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แถมยังมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นด้วยหากใช้งานไม่ถูกวิธี
การใช้งานหน้ากากอนามัยแบบถูกวิธี
- ล้างมือด้วยวิธีที่ถูกต้องก่อนและหลังใส่หน้ากากอนามัย
- การสวมใส่ต้องครอบปิดทั้งจมูกและปาก ปรับหน้ากากให้กระชับรับกับใบหน้า อย่าให้มีช่องว่าง
- เมื่อสวมบนใบหน้าแล้ว สามารถใช้หน้ากากได้เรื่อยๆจนกว่าหน้ากากจะสกปรกหรือเกิดการฉีกขาด
- ห้ามจับส่วนใดๆของหน้ากากเมื่อใส่แล้วเพราะจะทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
- เมื่อถอดจากใบหน้าแล้วต้องทิ้งเลย ห้ามนำมาใช้งานซ้ำ
- การใช้แอลกอฮอล์มาพ่นบนหน้ากากอนามัย ไม่เกิดประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรค
- เมื่อพบว่าหน้ากามีความชื้นให้รีบเปลี่ยนเป็นหน้ากากใหม่
- หน้ากากผ้าไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้
- ในกรณีที่เคยเดินทางไปยังสถานที่ที่มีความเสี่ยง สถานที่แออัด หรือสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่ดี เช่น โรงพยาบาล สถานนีขนส่งสาธารณะ ก็ควรสวมหน้ากากอนามัย
หน้ากาก N-95 ไม่ได้ช่วยป้องกัน COVID-19
หน้ากากประเภทนี้ใช้แค่กันฝุ่นละอองขนาดเล็กเท่านั้น ผู้ป่วยทางเดินหายใจทั่วไปไม่ควรใช้หน้ากากชนิดนี้เพราะมีการรัดที่แน่นหนาทำให้อากาศลอดเข้าไปไม่ได้ อาจจะทำให้หายใจไม่พอจนทำให้เกิดอันตรายได้
ขอบคุณข้อมูลจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย