ไม่น่าเชื่อว่าการพิมพ์ข้อความสั้นจะมีผลลบต่อความสามารถในการตีความทางภาษาและการยอมรับคำศัพท์ใหม่ๆได้

การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการโดย Joan Lee ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโททางด้านภาษาศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่าคนที่ชอบพิมพ์ข้อความมากๆมักจะยอมรับคำศัพท์ใหม่ๆได้น้อยลง ในทางตรงข้ามคนที่อ่านสื่อสิ่งพิมพ์มากๆ เช่น หนังสือ, นิตยสาร และหนังสือพิมพ์จะมีการยอมรับคำศัพท์ใหม่ๆได้ดีกว่า

ในการศึกษาครั้งนี้  Joan Lee ได้สัมภาษณ์นักศึกษามหาวิทยาลัยเกี่ยวกับนิสัยการอ่าน, การพิมพ์ข้อความ หลังจากนั้นก็แสดงคำศัพท์ต่างๆที่มีทั้งคำศัพท์จริงๆและคำศัพท์ปลอมที่ไม่มีความหมายให้พวกเค้าดู และให้บอกว่าคำใดเป็นคำที่มีความหมายบ้าง

สมมติฐานที่เธอตั้งเอาไว้ก็คือ การพิมพ์ข้อความช่วยส่งเสริมความสามารถทางด้านการใช้ภาษา แต่สิ่งที่ค้นพบกลับต้องทำให้เธอประหลาดใจ คนที่ยอมรับคำศัพท์ใหม่ได้มากกว่า นั่นเป็นเพราะว่าพวกเค้าสามารถตีความความหมายของคำหรือยอมรับคำศัพท์ใหม่ได้ดีกว่า แม้ว่าคำศัพท์เหล่านั้นจะไม่คุ้นเคยมาก่อน ส่วนนักศึกษาที่ชอบพิมพ์ข้อความบ่อยๆ จะปฏิเสธคำศัพท์ที่ไม่รู้จัก แม้ว่านั่นอาจจะเป็นคำศัพท์ที่มีความหมายก็ตามที

Lee แนะนำว่าการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์แบบดั้งเดิมจะช่วยให้คนได้เปิดโลกทัศน์ เรียนรู้ทั้งคำศัพท์ที่หลากหลายและความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภาษา การอ่านช่วยให้คนเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้ภาษาและยอมรับคำศัพท์แปลกๆ นอกจากนี้มันยังมีส่วนช่วยพัฒนาความสามารถในการตีความเวลาที่เจอคำศัพท์แปลกๆด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่พบในข้อความสั้นที่เป็นภาษาพูดระหว่างเพื่อนกับเพื่อนที่วัยรุ่นนิยมใช้กัน

ในทางตรงข้าม การพิมพ์ข้อความยังมีความเชื่อมโยงกับข้อจำกัดทางด้านการใช้ภาษาซึ่งเป็นสาเหตุให้ปฏิเสธการยอมรับคำศัพท์หลายๆคำในการวิจัยครั้งนี้ นี่เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจเพราะว่า การพิมพ์ข้อความสั้นมักจะใช้คำที่ใช้ตัวสะกดแปลกๆ หรือ “textisms” อย่างเช่น “LOL” ที่มีความหมายว่าหัวเราะหรือไชโย ซึ่งนั่นน่าจะให้พวกเค้ายอมรับคำแปลกๆได้

Lee กล่าวว่าคนที่ชอบพิมพ์คำศัพท์แบบนี้บ่อยๆเป็นปัจจัยสำคัญในการยอมรับคำศัพท์ใหม่ๆ Textisms เป็นคำหรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำศัพท์จริงๆ ซึ่งคนที่ชอบส่งข้อความจะรู้ความหมายของพวกมัน แต่คำศัพท์ที่นำมาแสดงในการวิจัยครั้งนี้ หลายคำอาจจะไม่เป็นที่รู้จักเลยทำให้คนกลุ่มนี้เกิดการไม่ยอมรับค่ะ

VIA ucalgary