นักวิจัยจาก MIT ได้สร้างสรรค์วิธีใหม่ในการตรวจจับการเคลื่อนไหวผ่านกำแพงซึ่งมีความแม่นยำและเปิดเผยข้อมูลได้มากกว่าเทคโนโลยีติดตามการเคลื่อนไหวแบบเดิมที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ระบบนี้มีชื่อว่า WiTrack ที่สามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวของผู้คนในรูปแบบสามมิติ แม้จะมีวัตถุขวางกั้นไว้ก็ตาม มันก็คือการอัพเกรดเทคโนโลยี “WiVi”ที่เอาไว้ใช้มองทะลุกำแพงให้ซับซ้อนขึ้นกว่า
WiTrack จะคล้ายกับอุปกรณ์อนาล็อค อย่างโซน่าร์หรือเรดาร์ ด้วยการใช้ตัวส่งสัญญาณวิทยุและเสาอากาศรับสัญญาณ 3 ตัว สัญญาณคลื่นวิทยุกำลังต่ำจะถูกส่งจากเสาส่ง ส่วนเสาที่เหลือจะคอยรับสัญญาณที่แตกต่างกันที่เกิดจากการสะท้อนกับของวัตถุต่างๆ โดยระบบจะทำการคำนวณความแตกต่างมาพิจารณาตำแหน่งของบุคคลในแบบ real time ความแม่นยำของระบบใหม่นี้เกิดจากสัญญาณที่เล็กกว่าสัญญาณ Wi-Fi ถึง 100 เท่า เล็กกว่าสัญญาณมือถือถึง 1,000 เท่ากัน โดย WiTrack มีความแม่นยำภายในระยะ 4 – 8 นิ้ว
เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ของ WiVi ใช้เสาอากาศน้อยกว่าและใช้การส่งสัญญาณผ่าน Wi-Fi แบบมาตรฐาน ซึ่งยังไม่แน่มยำเท่าที่ควร รวมถึงไม่สามารถระบุพิกัดแบบสามมิติได้ ทำได้แค่ติดตามตำแหน่งของคนว่าอยู่ห่างเสารับสัญญาณแค่ไหนเท่านั้น
ส่วนด้านการประยุกต์ใช้ WiTrack นั้นก็เช่น ตำรวจใช้ค้นหาคนร้ายที่หลบซ่อนตัว ,หน่วยกู้ภัยใช้ติดตามหาพิกัดคนที่ติดอยู่ในอาคารเวลาที่เกิดไฟไหม้หรือตึกถล่ม นอกจากนี้ยังเอาไปใช้กับผู้สูงอายุ ตรวจจับการลื่นล้มกับพื้น ส่วนวงการเกมส์ก็อาจจะเปลี่ยนบ้านทั้งหลังให้เป็นสนามเล่นเกมได้ค่ะ
[youtube]http://youtu.be/sbFZPPC7REc[/youtube]VIA Slashgear