การพัฒนาวัคซีนรักษา COVID-19 เริ่มเข้าใกล้ความเป็นจริง เมื่อวัคซีนที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดร่วมพัฒนากับ AstraZeneca บริษัทยายักษ์ใหญ่ สามารถกระตุ้นสร้างภูมิคุ้มกันในการทดสอบด้านคลินิกกับคนจริง ๆ

ทางศาสตราจารย์ Adrian Hill ของ Jenner Institute แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดได้ค้นพบว่าวัคซีนที่ทดลองฉีดให้ผู้ป่วย COVID-19 นั้นสามารถเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สู้กับไวรัสได้

นักวิจัยได้ทำการทดสอบวัคซีน ChAdOx1 nCoV-19 (AZD1222) ซึ่งพัฒนาขึ้นจากยีนของไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดโรคในลิงชิมแปนซี โดยในเฟสแรกนั้นได้ทดลองฉีดกับอาสาสมัครจำนวน 1,000 คนที่มีอายุระหว่าง 18 – 55 ปี

วัคซีนนี้จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและ T-cells เพื่อมาช่วยสู้กับเชื้อไวรัส โดยนักวิจัยเชื่อว่าภูมิคุ้มกัน (Neutralizing antibodies) จะเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยสร้างเกราะป้องกัน ซึ่งมีการพบภูมินี้ในตัวผู้ป่วยหลังได้รับวัคซีนเข้าไป ส่วน T-cell จะป้องกันไม่ทำให้เราไม่ต้องฉีดวัคซีนเข็มที่สอง ซึ่งทางนักวิจัยหวังว่าจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของคนจดจำวิธีการต่อสู้กับไวรัส

แม้วัคซีนจะใช้ได้ผลแต่ยังพบว่ามีผลข้างเคียง แต่ไม่เป็นอันตราย โดยอาการที่พบบ่อยก็คืออาการเมื่อยล้าและปวดศีรษะ รวมถึงหนาวสั่นและเป็นไข้

วัคซีนของอ็อกซ์ฟอร์ดถือเป็นหนึ่งในรอยของวัคซีนที่มีการพัฒนาอยู่ทั่วโลก ซึ่ง 23 วัคซีนในนั้นเริ่มทดสอบกับมนุษย์แล้ว ส่วนทาง AstraZeneca นั้นก็เตรียมร่วมมือกับพันธมิตรในการผลิตและแจกจ่ายวัคซีน 2 ล้านหลอด แม้วัคซีนนี้จะอยู่ในช่วงทดสอบแต่ทางบริษัทก็พยายามเพิ่มกำลังผลิตเพื่อให้แจกจ่ายกับสาธารณะชนได้ถ้ามันได้ผล.

ที่มา CNBC