ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอซาก้าผลิตเนื้อวากิวจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เป็นรายแรกของโลก! โดยพัฒนาเทคนิคใหม่จากการนำ Stem cell หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้จากวัววากิวมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและกระตุ้นให้กลายเป็นเซลล์ประเภทต่าง ๆ เพื่อเป็นส่วนประกอบของชิ้นเนื้อ ทั้งส่วนกล้ามเนื้อ ไขมัน และหลอดเลือด

3D printer creating a piece of meat

เมื่อได้ชิ้นเนื้อแต่ละส่วนแล้วก็จะนำมาจัดเรียงกันในรูปแบบ 3 มิติตามโครงสร้างทางเนื้อเยื่อ ซึ่งเทคนิคการนำชิ้นเนื้อมาเรียงกันแบบนี้ ได้ไอเดียจากการทำขนม Kintaro Candy ซึ่งเป็นลูกกวาดแท่งยาว ๆ ที่เมื่อนำมาตัดขวางจะได้เป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น การ์ตูน หน้าคน ผลไม้ ถ้ายกตัวอย่างในไทยเราก็จะเป็นร้าน Made in Candy

ในการพัฒนาเทคนิคนี้ไม่เพียงแต่จะสามารถสร้างโครงสร้างเนื้อที่ซับซ้อนได้ แต่ยังทำการปรับส่วนประกอบไขมันและกล้ามเนื้ออย่างละเอียดอีกด้วย และสามารถนำไปสู่การสร้างส่วนประกอบของกล้ามเนื้อและไขมันรูปแบบอื่น ๆ ให้เนื้อเพาะจากห้องแล็บ มีรูปแบบที่หลากหลายได้